พรีไบโอติกส์ (prebiotics) ดีต่อสุขภาพอย่างไร พร้อมเรื่องอื่นๆ ที่น่ารู้

1005 จำนวนผู้เข้าชม  | 

prebiotics

prebiotics ตัวช่วยเรื่องสุขภาพที่หลาย ๆ คนอาจยังสับสนว่าแตกต่างจาก probiotics ตรงไหน และมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร สามารถหาคำตอบเกี่ยวกับ prebiotics รวมถึงเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ prebiotics ที่จะช่วยให้คุณได้ประโยชน์จาก prebiotics อย่างเต็มประสิทธิภาพได้ในบทความนี้

พรีไบโอติกส์ (prebiotics) คืออะไร


พรีไบโอติกส์ (prebiotics) คืออาหารของ probiotics ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานและทำให้ probiotics ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกายเจริญเติบโตได้ดีขึ้นและมีปริมาณมากพอที่จะทำให้เรามีสุขภาพแข็งแรง โดยร่างกายเราไม่สามารถย่อยสลาย prebiotics ได้เองผ่านทางระบบทางเดินอาหาร และไม่สามารถดูดซึม prebiotics ได้

 

 

Prebiotics แตกต่างจาก Probiotics อย่างไร


ความแตกต่างของ prebiotics และ probiotics คือ 


prebiotics เป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานของ probiotics 


probiotics คือจุลินทรีย์ที่ช่วยสร้างสมดุลให้แก่ลำไส้ และทำให้ร่างกายแข็งแรง 


ด้วยความแตกต่างนี้ ทำให้เห็นว่าทั้ง prebiotics และ probiotics มีความสัมพันธ์แบบเกื้อหนุนกัน การรับประทานทั้ง 2 อย่างควบคู่กันจึงสามารถช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันและรักษาสมดุลของระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ของ Prebiotics


เนื่องจาก prebiotics เป็นอาหารและแหล่งพลังงานที่ช่วยให้ probiotics เติบโต จึงทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์มากขึ้นไปด้วย เช่น

  • ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร

  • ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน

  • ช่วยลดโอกาสเกิดโรคทางเดินอาหารต่าง ๆ

  • ช่วยลดความดันโลหิต

  • ช่วยป้องกันโรคผื่นแพ้ผิวหนัง

  • ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ prebiotics ยังช่วยเสริมการดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียม (Ca) หรือ แมกนีเซียม (Mg) ,ช่วยลดค่า pH ในลำไส้ให้สมดุล และช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย

Prebiotics พบในแหล่งอาหารประเภทใด


Prebiotics มักพบในอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น อาหารจำพวกผักและผลไม้ อาหารจำพวกธัญพืชและถั่วต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างอาหารที่มี Prebiotics สูง ได้แก่

  • หอมแดง สมุนไพรมากประโยชน์ มี prebiotics มาก วิตามินสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ และยังมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอากาศท้องแน่นได้ดี

  • หน่อไม้ฝรั่ง อีกหนึ่งผักที่อุดมไปด้วย prebiotics และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเรื่องปรับสมดุลลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • กะหล่ำปลี มีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีสูง ควบคู่ไปกับ prebiotics จำนวนมาก จึงช่วยเรื่องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และบำรุงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

  • กระเทียม หนึ่งในวัตถุดิบคู่ครัวไทย ที่มี prebiotics สูง และยังช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับหัวใจ หลอดเลือด รวมไปถึงโรคมะเร็งได้อีกด้วย

  • กล้วย ผลไม้รสหวานหาทานง่าย ที่มีใยอาหารสูง มี prebiotics ปริมาณมาก และมีวิตามินมากมาย 

  • แอปเปิ้ล ผลไม้ที่พบเจอได้ทั่วไป มี prebiotics สูง วิตามินมากมาย และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย จึงเป็นที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพและความงาม

  • ถั่วเหลือง อุดมไปด้วยโปรตีน กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และ prebiotics ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด และป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้

  • ถั่วแดง มีสารอาหารหลากหลายทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และวิตามิน ทั้งยังมี prebiotics สูง จึงมีส่วนช่วยทั้งการลดคอเลสเตอรอลในเลือด เสริมความจำ และลดความอยากอาหารได้ดี

  • ข้าวโอ๊ต อุดมไปด้วยโปรตีนและกรดอะมิโนต่าง ๆ ควบคู่ไปกับ prebiotics จำนวนมาก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อสุขภาพที่คนนิยมรับประทาน

  • ข้าวบาร์เลย์ มี prebiotics สูง แคลอรี่ต่ำ เป็นที่นิยมสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักอย่างสุขภาพดี


Prebiotics รับประทานตอนไหนจึงจะดีต่อร่างกาย


การรับประทาน prebiotics ให้ดีต่อร่างกาย สามารถเลือกรับประทานได้ทุกช่วงเวลา แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากการลำไส้จะทำงานได้ดีที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ในขณะที่จะทำงานน้อยลงมากในเวลานอน จึงไม่ควรรับประทาน prebiotics ก่อนนอน นอกจากนี้การรับประทาน prebiotics ให้เกิดผลดีต่อร่างกายควรรับประทานร่วมกับอาหารอื่น ๆ เช่น อาหารที่มี probiotics ด้วยจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น

สรุป


Prebiotics คืออาหารและแหล่งพลังงานของ probiotics ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ดีที่ช่วยรักษาสมดุลระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ ได้ การรับประทาน prebiotics ให้เกิดประโยชน์จึงควรรับประทานควบคู่กันไปกับ probiotics

แหล่งอาหารที่สามารถพบ prebiotics จำนวนมากได้คืออาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ถั่วต่าง ๆ และ ธัญพืช ทั้งนี้การรับประทาน prebiotics จะไปช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในร่างกาย ดังนั้นจึงอาจไม่เหมาะสำหรับคนที่มีอาการลำไส้แปรปรวนหรือมีปริมาณจุลินทรีย์ในลำไส้มากอยู่แล้ว โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการรับประทาน prebiotics คือช่วงเวลากลางวันที่ลำไส้ทำงานอย่างเต็มที่ และรับประทานพร้อมกับอาหารอื่น ๆ โดยเฉพาะอาหารที่มี probiotics สูง

สำหรับท่านที่สนใจสาระน่ารู้ดี ๆ แบบนี้ สามารถกดติดตามเพจ Jpogene เพื่อไม่ให้พลาดทุกบทความสุขภาพและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพแข็งแรงได้ไม่ยาก



Reference:


Justin L Carlson, Jennifer M Erickson, Beate B Lloyd, and Joanne L Slavin. Health Effects and Sources of Prebiotic Dietary Fiber. Available from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6041804/pdf/nzy005.pdf


Department of Gastroenterology. “Prebiotic diet - FAQs”. Available from: https://www.monash.edu/medicine/ccs/gastroenterology/prebiotic/faq


Victoria Peck-Gray, RD. When is the Best Time to Take Prebiotics?. Available from: https://www.takecareof.com/articles/when-to-take-prebiotics





เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้