จุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล อาจส่งผลมากกว่าที่คุณคิด

573 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จุลินทรีย์ในลำไส้

จุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล หนึ่งในต้นเหตุปัญหาสุขภาพที่หลาย ๆ คนคาดไม่ถึง เนื่องจากในร่างกายมนุษย์มีจุลินทรีย์อยู่เป็นจำนวนมาก มากกว่าเซลล์ร่างกายถึงหลักล้านล้านเซลล์ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะกระจายอยู่ทั่วทั้งร่างกาย เช่น ผิวหนัง ช่องปาก และช่องคลอด แต่มักอาศัยอยู่ในบริเวณลำไส้มากที่สุด ดังนั้นจุลินทรีย์ในลำไส้จึงมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของเราโดยตรง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุลมีอะไรบ้าง จะตรวจสอบความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้อย่างไร ทำความรู้จักกับจุลินทรีย์ในลำไส้ไปพร้อม ๆ กันได้ในบทความนี้

ทำความรู้จักจุลินทรีย์ในลำไส้

จุลินทรีย์ในลำไส้ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรียในลำไส้ ไวรัสในลำไส้ เชื้อราในลำไส้ และปรสิตในลำไส้ ซึ่งอยู่อาศัยร่วมกัน เรียกว่าเป็น Gut Microbiome โดยจุลินทรีย์แต่ละชนิดก็อาจมีประเภทที่แยกย่อยลงไปอีก และจุลินทรีย์เหล่านั้นก็จะมีความสัมพันธ์ต่อร่างกายที่แตกต่างกันไป

ความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในลำไส้ต่อร่างกาย

เนื่องจากจุลินทรีย์ในลำไส้อาศัยอยู่ในร่างกายของเรา ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทได้แก่

  1. ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน คือทั้งจุลินทรีย์ในลำไส้และเซลล์ร่างกายของเราต่างก็ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
  2. ความสัมพันธ์แบบอิงอาศัย คือจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ประโยชน์จากร่างกายของเรา แต่เราไม่ได้เสียหรือได้ประโยชน์ใด ๆ 
  3. ความสัมพันธ์แบบปรสิต คือจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ประโยชน์จากเราเพียงฝ่ายเดียวแล้วร่างกายเรายังเสียประโยชน์อีกด้วย

จะเห็นได้ว่าจากความสัมพันธ์ทั้ง 3 แบบที่จุลินทรีย์ในลำไส้มีต่อร่างกายแตกต่างกันไปจึงส่งผลให้เกิดทั้งประโยชน์และโทษต่อร่างกายตามคุณสมบัติของจุลินทรีย์ในละไส้แต่ละชนิด

นอกจากนี้หากมีจุลินทรีย์ในลำไส้บางชนิดมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ย่อมทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นในระบบต่าง ๆ ของร่างกายที่ได้รับหรือเสียประโยชน์จากจุลินทรีย์ในลำไส้อีกด้วย

ผลกระทบต่อร่างกายเมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุลมีอะไรบ้าง

เมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล ย่อมส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายตามมาในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว ระบบขับถ่ายทำงานได้แย่ลง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จนถึงการเกิดโรคต่าง ๆ ทั้งโรคทางกายโดยทั่วไปและปัญหาสุขภาพจิต

1. น้ำหนักตัว

จุลินทรีย์ในลำไส้ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของน้ำหนักตัวได้โดยตรง เนื่องจากจุลินทรีย์ในลำไส้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเผาผลาญไขมัน และลดอาการอักเสบในร่างกาย เมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุลไป ก็จะเกิดภาวะการอ้วนลงพุง และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้

ตัวอย่างเช่นจุลินทรีย์ในลำไส้ชนิดเฟอร์มิคิวทีส (Firmicutes) เป็นจุลินทรีย์ที่จะพบมากในคนอ้วน และเมื่อมีน้ำหนักลดลง จุลินทรีย์ชนิดนี้ก็จะลดลงไปด้วยเช่นกัน ในขณะที่จุลินทรีย์ในตระกูลแลคโตบาซิลลัสจะไปช่วยเรื่องการดูดซึมสารอาหาร และกระตุ้นฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการเผาผลาญไขมันแทน 

2. ระบบขับถ่าย

จุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุลทำให้การขับถ่ายผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการมีจุลินทรีย์บางชนิดน้อยเกินไป จนทำให้เกิดอาการท้องผูก ขับถ่ายน้อย ขับถ่ายไม่บ่อย ตลอดจน การมีจุลินทรีย์บางชนิดมากเกินไป จนทำให้เกิดอาการท้องร่วง และขับถ่ายมากอย่างผิดปกติ

ดังนั้นบางครั้งเมื่อเราเกิดคำถามที่ว่าถ่ายยาก เกิดจากอะไร? ทำไมขับถ่ายผิดปกติ? จุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุลก็อาจเป็นคำตอบที่เราตามหาอยู่ก็เป็นได้ 

3. ระบบภูมิคุ้มกัน

นอกจากจุลินทรีย์ในลำไส้จะส่งผลต่อน้ำหนักตัวและการขับถ่ายแล้ว จุลินทรีย์บางชนิดยังมีส่วนช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันอีกด้วย เมื่อร่างกายมีจุลินทรีย์ดีเช่น probiotics ที่คอยช่วยเสริมความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน ร่างกายเราก็จะแข็งแรง และมีอาการเกิดอาการแพ้ได้ยากขึ้น

ในทางกลับกัน หากจุลิทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล มีจุลินทรีย์ที่เป็นโทษมากกว่าจุลินทรีย์ดี ก็จะทำให้เราป่วยง่าย โรคภูมิแพ้มีโอกาสเกิดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก ดังนั้นการทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้สมดุลจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนทุกเพศทุกวัย

4. การเกิดโรคต่าง ๆ

จุลินทรีย์ในลำไส้มีส่วนช่วยลดโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคทางเดินอาหาร เมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุลไป จุลินทรีย์ดีมีไม่เพียงพอ จุลินทรีย์ร้ายเพิ่มจำนวนขึ้น ก็ทำให้มีโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ภาวะเครียด ภาวะลําไส้แปรปรวน ไปจนถึงอาจมีความเสี่ยงมะเร็งลำไส้อีกด้วย

การตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้สำคัญอย่างไร

เราได้ทำความเข้าใจกันไปแล้วว่าเมื่อสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้เปลี่ยนไป สามารถส่งผลอย่างไรต่อร่างกายเราได้บ้าง ทั้งมีโอกาสทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อ้วนลงพุง ขับถ่ายผิดปกติ ภูมิคุ้มกันต่ำลงและมีโอกาสเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้จึงสามารถช่วยให้เราป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที และสามารถเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องเหมาะสมได้

โดยผู้ที่ควรตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้เป็นอย่างยิ่งได้แก่ 

  • ผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวน
  • ผู้ที่ระบบเผาผลาญไม่ดี มีภาวะอ้วน
  • ผู้ที่เป็นภูมิแพ้บ่อย ๆ 
  • ผู้ที่มีภาวะเบาหวาน
  • ผู้ที่เป็นหอบ หืด
  • ผู้ที่มีสิวอักเสบ ผิวหนังอักเสบ
  • ผู้ที่มีภาวะเครียด มีอาการนอนไม่หลับหรือไมเกรน

วิธีตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้

วิธีตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้สามารถทำได้โดยการทำ Gut Microbiome Test ซึ่งจะใช้การตรวจอุจจาระเพื่อดูจำนวนและประเภทของจุลินทรีย์ในลำไส้ ทั้งจุลินทรีย์ในลำไส้ชนิดดีและจุลินทรีย์ในลำไส้ชนิดที่เป็นโทษ เพื่อให้สามารถหาต้นเหตุของปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หรือแนะนำแนวทางป้องกันไม่ให้เปิดปัญหาสุขภาพขึ้นได้ในอนาคต

สรุป

จุลินทรีย์ในลำไส้มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก เนื่องจากจุลินทรีย์ในลำไส้มีจำนวนมากที่สุดเมื่อเทียบกับจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอื่น ๆ ในร่างกาย และมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ เมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุลไปก็อาจทำให้เกิดโรคบางโรคได้ง่ายขึ้น ขับถ่ายผิดปกติ น้ำหนักตัวมาก อ้วนลงพุง และอาจเป็นผื่นแพ้ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

การลดจำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ไม่ดี รวมไปถึงการเพิ่มจุลินทรีย์ในลําไส้ที่ดีจึงส่งผลต่อสุขภาพคุณได้โดยตรง ดังนั้นการตรวจสอบสมดุลในลำไส้จึงมีความสำคัญและจะช่วยให้คุณรักษาสุขภาพให้ดีได้อยู่เสมอ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้