1371 Views |
ลําไส้แปรปรวนหนึ่งในโรคทางเดินอาหารซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ และส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกาย เช่น มีอาการปวดท้อง การขับถ่ายผิดปกติ ซึ่งหากเป็นหนักเข้าก็อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้
โรคลําไส้แปรปรวนเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่ผู้ป่วยส่วนมากอาจไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคลําไส้แปรปรวน เนื่องจากไม่ได้ไปพบแพทย์และเมื่ออาการหายไปก็ใช้ชีวิตปกติ จนกระทั่งเป็นโรคลําไส้แปรปรวนซ้ำอีกครั้ง และจะทราบเมื่อเป็นหนักจนไปพบแพทย์แล้วเท่านั้นเอง
ดังนั้นจึงควรทำความรู้จักกับโรคลำไส้แปรปรวน ทั้งอาการ สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกันโรค เพื่อให้คุณห่างไกลจากโรคนี้หรือหากเป็นแล้วก็จะรู้ตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ทิ้งช่วงจนอาการรุนแรงนั่นเอง
โรคลําไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome) หรือ ไอบีเอส (IBS) เป็นโรคที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติบริเวณปลายลำไส้ อาจเกิดได้ทั้งปลายลำไส้ใหญ่และปลายลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นผลมาจากการบีบตัวที่มากเกินไปของลำไส้หรือถูกกระตุ้นโดยสิ่งเร้า เช่น อาหารที่มีเผ็ด คาเฟอีน หรือความเครียด จนทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง และขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสีย
โรคลําไส้แปรปรวนนี้อาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจมีอาการเรื้อรังได้ แม้จะไม่เป็นอันตรายร้ายแรงแต่ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวนยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจากไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดโรคลําไส้แปรปรวนได้ แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคลําไส้แปรปรวนมักพบปัจจัยร่วมเหล่านี้
- การเคลื่อนไหวของลำไส้ทำงานอย่างผิดปกติ โดยอาจเกิดจากสารหรือฮอร์โมนบางอย่างจนทำให้เกิดอาการของโรคลําไส้แปรปรวน
- ระบบทางเดินอาหารไวต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นมากกว่าปกติ จึงทำให้กล้ามเนื้อของลำไส้มีการเคลื่อนไหวที่มากจนเกินไป
- การติดเชื้อในทางเดินอาหาร ส่งผลให้อาการของโรคลําไส้แปรปรวนเป็นหนักมากขึ้น
- เกิดความผิดปกติในการควบคุมแกนที่เชื่อมระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อของลำไส้ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของสารบางชนิด
- แบคทีเรียในลำไส้ขาดความสมดุล จนส่งผลให้ลำไส้ทำงานผิดปกติ
- ปัญหาทางด้านจิตใจ อาจส่งเสริมให้อาการโรคโรคลําไส้แปรปรวนรุนแรงขึ้น
- การใช้ยาบางชนิด อาจกระตุ้นการทำงานของลำไส้จนลำไส้ทำงานผิดปกติและกลายเป็นโรคลําไส้แปรปรวนได้
- กรรมพันธุ์ ไม่ได้มีหลักฐานที่แน่นอนว่าเกี่ยวข้องโดยตรง แต่มีข้อมูลว่าผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคลำไส้แปรปรวนจะมีแนวโน้มเป็นโรคลําไส้แปรปรวนมากกว่าผู้ที่ไม่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้เลยประมาณ 2-3 เท่า
อาการของโรคลําไส้แปรปรวนสามารถเป็นได้หลากหลายอาการประกอบกัน โดยอาจมีอาการในลักษณะของท้องผูก อาการในลักษณะของท้องเสีย หรืออาจมีทั้งสองอาการสลับกันไปก็ได้ โดยจะมีลักษณะการเป็นเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ อาจยาวนานมากกว่า 3 เดือน
ตัวอย่างอาการโรคลําไส้แปรปรวนที่พบบ่อยมีดังต่อไปนี้
- ปวดท้อง
- ท้องอืด อึดอัดท้อง
- ปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย
- มีลมในท้อง
- ท้องเสีย
- ท้องผูก
- รู้สึกสบายตัวขึ้นหลังการขับถ่าย
- ขับถ่ายไม่ค่อยสุด
- อุจจาระมีลักษณะผิดปกติ แข็งหรือเหลวจนเกินไป
โดยจะต้องไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น โลหิตจาง มีไข้ หรืออาเจียน เป็นต้น หากมีอาการอื่น ๆ เหล่านั้นแสดงว่าอาจเป็นโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคลําไส้แปรปรวน
การวินิจฉัยโรคลําไส้แปรปรวนจะต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์จะทำการซักถามประวัติและอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด ควบคู่ไปกับการตรวจร่างกายวิธีอื่น ๆ เช่น การตรวจเลือด การตรวจอุจจาระ การส่องกล้อง การเอ็กซเรย์ หรือการตรวจอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามแต่ดุลยพินิจของแพทย์ผู้ตรวจ
การรักษาโรคลําไส้แปรปรวนโดยมากแล้วจะเป็นการรักษาตามอาการ เนื่องจากยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้ ซึ่งจะแบ่งการรักษาโรคลําไส้แปรปรวนออกเป็น 2 ส่วน คือ การรักษาโรคลําไส้แปรปรวนโดยการใช้ยา และการรักษาโรคลําไส้แปรปรวนโดยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ซึ่งจะต้องทำควบคู่กันไป
การรักษาโรคลําไส้แปรปรวนโดยการใช้ยาเช่น ยาระบาย ยาลดอาการเกร็งในช่องท้อง ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น
การรักษาโรคลําไส้แปรปรวนโดยการปรับพฤติกรรมมีหลายวิธี ได้แก่
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ลดอาหารไขมันสูง
- รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง
- ไม่รับประทานอาหารเกินพอดี ทานแต่พออิ่ม
- ลดการรับประทานอาหารรสจัดจนเกินไป
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- พยายามลดความเครียดในชีวิตประจำวันลง
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- งดสูบบุหรี่
- ไม่กลั้นอุจจาระ
- ลดการรับประทานอาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์
ส่วนวิธีการป้องกันโรคลำไส้แปรปรวนก็สามารถทำได้ด้วยวิธีเดียวกับการรักษาโรคลำไส้แปรปรวนโดยการปรับพฤติกรรมนั่นเอง เพียงแต่ควรจะทำอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอไม่ใช่เพียงเวลามีอาการเท่านั้น เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลําไส้แปรปรวนลดลง
โรคลําไส้แปรปรวนเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของส่วนปลายลำไส้ อาจส่งผลให้มีอาการท้องผูกหรือท้องเสีย หรืออาจมีทั้งสองสลับกันไป โดยมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องเรื้อรังตั้งแต่ 3 เดือนเป็นต้นไป สามารถวินิจฉัยได้โดยการให้แพทย์ซักถามประวัติอาการและตรวจสุขภาพด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ
โรคลําไส้แปรปรวนเป็นโรคยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการและสามารถป้องกันได้โดยการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน