ลำไส้รั่ว (leaky gut) มีอาการอย่างไร ทำไมจึงเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจมากกว่าที่คิด

1034 Views  | 

ลำไส้รั่ว (leaky gut) มีอาการอย่างไร ทำไมจึงเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจมากกว่าที่คิด

ลำไส้รั่ว คืออะไร? หลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้จักภาวะลำไส้รั่วซึ่งเป็นความผิดปกติของลำไส้ประเภทหนึ่งที่ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ ป่วย และมีอาการอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนั้นการทำความรู้จักกับลำไส้รั่วว่าคืออะไร มีสาเหตุการเกิดจากอะไรได้บ้าง จะช่วยให้หาแนวทางการป้องกันและสามารถรักษาได้อย่างตรงจุด 

 

ลำไส้รั่ว คืออะไร

ลำไส้รั่ว (leaky gut) คืออาการที่ลำไส้ทำงานผิดปกติ ทำให้การดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปด้วย จนอาจปล่อยให้สิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ หลุดรอดเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปทั่วทั้งร่างกาย โดยลักษณะของลำไส้ที่มีภาวะลำไส้รั่วจะมีการเรียงตัวของไทต์จังก์ชัน (tight junctions) ที่ห่างกว่าปกติ ไม่เรียงชิด ๆ กันอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้สิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สารอาหารถูกดูดซึมเข้ามายังกระแสเลือดและส่งผลให้เกิดอาการป่วยอื่น ๆ ตามมาได้

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่ว

ลำไส้รั่วสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่โดยมากแล้วสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่วมักมาจากพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพของผู้ป่วยเองหรือผลกระทบจากโรคต่าง ๆ เช่น

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • การสูบบุหรี่
  • การรับประทานอาหารประเภทนมและน้ำตาลซ้ำ ๆ ในปริมาณมาก
  • คนที่แพ้กลูเตนแต่ยังรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตน
  • การรับประทานยาฆ่าเชื้อประเภทต่าง ๆ บ่อย ๆ
  • ความเครียด และอาการเศร้า
  • ความเหนื่อยล้าจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การติดเชื้อในลำไส้
  • โรคเบาหวาน
  • โรคตับ

สิ่งเหล่านี้คือสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่วได้

 

ลำไส้รั่วมีอาการอะไรบ้าง

เมื่อมีภาวะลำไส้รั่วแล้วก็จะมีอาการต่าง ๆ ตามมาหลายอย่าง ได้แก่

  • รู้สึกแน่นท้องหรือแน่นตามระบบทางเดินอาหารเนื่องจากมีแก๊สในระบบทางเดินอาหารมากเกินไป
  • ระบบย่อยอาหารทำงานแย่ลง ทำให้ท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อยได้ง่าย จนอาจถึงขั้นไม่สามารถย่อยคาร์โบไฮเดรตได้
  • ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็น ปวดศีรษะ ปวดท้อง หรือปวดข้อ โดยไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร
  • แพ้อาหารแฝง คือการแพ้อาหารต่าง ๆ แต่แสดงอาการน้อย และไม่ได้แสดงอาการทันทีหลังรับประทานอาหาร
  • จู่ ๆ ก็น้ำหนักขึ้นง่ายผิดปกติ
  • มีผื่นคันหรือสิวขึ้นตามร่างกายบ่อย ๆ 
  • มือเท้าเย็นโดยไม่ทราบสาเหตุ และไม่ได้เป็นโรคอื่น ๆ อยู่ในขณะนั้น
  • ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยเร็ว
  • ระบบขับถ่ายทำงานผิดปกติ อาจเกิดได้ทั้งท้องเสียและท้องผูก

 

ลำไส้รั่วอาจส่งผลให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง

นอกจากจะมีอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปแล้วลำไส้รั่วยังสามารถส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้อีก เนื่องจากสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่กระแสเลือดจะทำให้ร่างกายอ่อนแอลงและมีโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้นโดยเฉพาะโรคทางเดินอาหารเช่น

นอกจากโรคทางเดินอาหารแล้วลำไส้รั่วยังส่งผลให้เกิดโรคและอาการอื่น ๆ ตามมาได้อีก ได้แก่

  • โรคภูมิแพ้
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • อาการแพ้อาหาร
  • ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • โรคปลอกประสาทอักเสบ

 

การรักษาและป้องกันการเกิดภาวะลำไส้รั่ว

ลำไส้รั่วจึงเป็นภาวะที่สามารถส่งผลร้ายต่อร่างกายได้อย่างมากหากทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่ทำการรักษาและไม่พยายามหาทางป้องกันจนเป็นซ้ำบ่อย ๆ โดยการรักษาและการป้องกันภาวะลำไส้รั่วสามารถทำได้ด้วยวิธีเดียวกันคือการปรับพฤติกรรมนั่นเอง 

การปรับพฤติกรรมเพื่อรักษาและป้องกันภาวะลำไส้รั่วสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วิธีดังนี้

 

1.ลดการใช้ยาที่มากเกินความจำเป็น

รักษาลำไส้รั่วโดยการลดการใช้ยาลง ใช้ยาเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะการใช้ยาในปริมาณที่มากเกินไปเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่วได้ ดังนั้นหากลดปริมาณยาลง ลำไส้ก็จะมีเวลาฟื้นฟู และเราก็จะสามารถดูแลลำไส้ให้กลับมาแข็งแรงดังเดิมเพื่อหยุดภาวะลำไส้รั่วได้นั่นเอง

แต่ในกรณีที่ไม่สามารถลดปริมาณยาได้เพราะยาทุกตัวเป็นยาที่จำเป็นทั้งหมดและผ่านการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว แนะนำให้ใช้อีก 2 วิธีต่อไปนี้เข้ามาช่วยเพื่อให้ลำไส้สามารถกลับมามีสุขภาพแข็งแรงได้

 

2.ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

รักษาโรคลำไส้รั่วโดยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดเพราะสามารถเริ่มทำได้เลยในทันที การปรับพฤติกรรมนี้สามารถทำได้หลายอย่างทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มและลดปริมาณอาหารที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นโทษ

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยในการรักษาลำไส้รั่วได้แก่

  1. รับประทานอาหารที่มีจุลินทรีย์ดีเพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้ เช่นอาหารที่มี probiotics สูงอย่าง นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ หรือซุปมิโซะ
    2. รับประทานอาหารที่จะช่วยลดภาระของลำไส้และช่วยในการดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่นอาหารที่มี prebiotics สูงอย่าง หอมแดง กะหล่ำปลี และแอปเปิ้ล
    3. รับประทานอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะวิตามินเอ วิตามินอี และสังกะสีเช่นผลไม้ชนิดต่าง ๆ 
    4. ดื่มน้ำเยอะ ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

    การลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ช่วยลดภาระของลำไส้และฟื้นฟูลำไส้จากภาวะลำไส้รั่วได้แก่

    1. ลดหรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    2. ลดการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของนมหรือน้ำตาลในปริมาณมาก
    3. ในกรณีที่แพ้กลูเตนให้งดรับประทานกลูเตน

นอกจากการเพิ่มหรือลดการรับประทานอาหารบางชนิดแล้วพฤติกรรมอื่น ๆ อย่างการรับประทานอาหารให้หลากหลายและการรับประทานอาหารให้ตรงเวลาก็สามารถช่วยรักษาและป้องกันโรคลำไส้รั่วได้เช่นกัน3.ปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง
ป้องกันโรคลำไส้รั่วโดยการปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง พยายามลดความเครียดของตนเอง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น และลดโอกาสการเกิดภาวะลำไส้รั่วได้

 

สรุป

ลำไส้รั่วเป็นภาวะที่ทำให้สิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากสารอาหารจำเป็นเข้าสู่ร่างกายผ่านกระแสเลือดได้ ส่งผลให้มีอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ตามมา ดังนั้นจึงควรรีบรักษาภาวะลำไส้รั่วเสียแต่เนิ่น ๆ และพยายามป้องกันไม่ให้เป็นโรคลำไส้รั่วอีกโดยการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ยา พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ตลอดจนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อให้มีสุขภาพลำไส้และสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลจากภาวะลำไส้รั่ว

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy